fbpx

วันชาติพม่า Independence Day

วันที่4 มกราคม
::Independence Day
::วั น ช า ติ พ ม่ า

Independence Day

ชาวMyanmar เรียกชื่อของประเทศตัวใหม่ของตนว่า “แผ่นดินทอง” (Golden Land)อาจมาจากสีขององค์เจดีย์ซึ่งมีสีทองเหลืองอร่าม 
โดยเฉพาะองค์เจดีย์ชเวดากองที่มีชื่อเสียง ตั้งอยู่ที่กรุงย่างกุ้ง หรืออาจมาจากสีเหลืองทองของรวงข้าวยามสุกปลั่ง พม่าเป็นดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ป่าไม้ขนาดใหญ่เต็มไปด้วยไม้ที่มีค่า และยังมีสินแร่สำคัญมาก
วันชาติของพม่า คือ วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๑ เป็นวันที่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ ซึ่งปกครองมานานประมาณ ๗๐ ปี

ประวัติศาสตร์ของพม่าเริ่มต้นพวกพยู (Pyu)ซึ่งไม่ทราบประวัติความเป็นมาของคนกลุ่มนี้มากนัก ชาวพยูเป็นผู้สร้างเมืองศรีเกษตร (Sri Kshetra) ขึ้นมาทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำอิระวดีเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๓ เวลาเดียวกัน พวกมอญก็ได้ตั้งอาณาจักรของตนที่บริเวณพม่าตอนล่าง ทั้งสองอาณาจักรได้รับวัฒนธรรมและพุทธนิกายเถรวทามาจากอินเดีย
ราวสองศตวรรษถัดมาชาวพม่าได้ตั้งอาณาจักรพุกามขึ้นบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิระวดีในพม่าตอนบน อาณาจักรพุกามรุ่งเรืองขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เข้ามายึดครองอาณาจักรมอญที่เมืองสะเทิมแล้วได้สร้างเมืองปาการขึ้นเป็นเหมืองหลวง

ใน พ.ศ.๑๘๒๖ พวกมองโกล ที่ปกครองยูนนานได้เข้ารุกรานและยึดครองอาณาจักรพุกามไว้ได้ อาณาจักรพุกามได้ล่มสลาย ดินแดนทั้งหมดแตกแยกออกเป็นแคว้นต่างๆและอยู่ภายใต้การยึดครองของมองโกลได้ในระยะหนึ่งจากนั้นพวกไทยฉานได้เข้ามามีบทบาทในราชสำนักพม่าทางตอนกลางของประเทศ เมืองตองอูเริ่มเข้มแข็งขึ้นจากการรวมตัวของชาวพม่าที่หนีอิทธิพลจากของมองโกลและไทยฉานมา ทางด้านตะวันตกมีแคว้นยะไข่ที่พยายามตั้งตนเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับพม่าและทางใต้รัฐมอญภายใต้การนำของมะกะโทหรือพระเจ้าฟ้ารั่ว ได้รวมตัวกันขึ้นมาโดยตั้งเมืองหลวงขึ้นที่เมาะตะมะ ต่องมาได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองหงสาวดี
พระเจ้ามินจินโยตั้งราชวงศ์ใหม่คือ ราชวงศ์ตองอูขึ้นมา ในรัชกาลต่อมาภายใต้การนำของพระเต้าตะเบ็งชะเวงตี้และพระเต้าบุเรงนองอาณาจักรตองอูสามารถยึดเมืองจากไทยฉาน เมืองหงสาวดีจากมอญและตีกรุงศรีอยุธยาแตกในปี พ.ศ. ๒๑๑๒

หลังจากสมัยพระเจ้าบุเรงนองพม่าก็อ่อนแอลงอีกครั้งมอญที่เมืองสิเรียมและเมาะละมะได้รวมตัวกันสามารถเข้ายึดเมืองตองอู แปร และเข้ายึดเมืองอังวะ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๕
ราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์สุดท้ายภายใต้การปกครองของระบอบกษัตริย์ก่อนหน้าที่อังกฤษเข้าปกครอง พระเจ้าอลองพญาเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์นี้ขึ้นมาทางตอนเหนือของกรุงอังวะ ในรัชกาลต่อๆมา สามารถรวบรวมแว่นแคว้นต่างๆได้เช่น มอญ ยะไข่ และฉาน ขึ้นเป็นชาติที่เข้มแข็งแต่ก็ต้องเผชิญกับลัทธิล่าอาณานิคมในเวลาต่อมา
ช่วงที่ราชวงศ์คองบองแผ่ขยายอาณาจักรมาทางด้านตะวันตกในที่สุดได้เข้าประชิดจิตตะกอง ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจของอังกฤษช่วงระยะเวลานี้เป็นช่วงที่อังกฤษและฝรั่งเศสแข่งขันการขยายอิทธิพลของตนจากอินเดียเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อหาเส้นทางการค้าไปยังจีน ฝรั่งเศสมีที่มั่นอยู่ที่เมืองปอนดิเชอรี ทางใต้เมืองมัทราชของอังกฤษ

ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาเรื่องพรหมแดน อังกฤษจึงยกทัพเรือพร้อมด้วยทหาร ๑๑,๐๐๐ คนเข้าโจมตีเมืองย่างกุ้งนาน ๖ เดือนจึงตีเมืองได้ พม่ายังคงปฏิเสธไม่ยอมเจรจากับอังกฤษ จนทำสงครามต่อเนื่องกินเวลาถึง ๒ ปี รุกไล่ไปถึงเมืองแปร พม่าจึงยอมทำสนธิสัญญาสงบศึกเรียกว่า สนธิสัญญายานดาโบ (Trety of Yandabo)พ.ศ.๒๓๖๙ พม่าต้องเสียดินแดนยะไข่ลงมาถึงพม่าตอนล่าง และดินแดนแถบตะนาวศรี เว้นนแต่เมื่องย่างกุ้ง เมาะตะมะที่ยังคงเป็นของพม่า ในการทำสงครามครั้งนี้อังกฤษสามารถควบคุมเส้นทางการเดินเรือจากอินเดียสู้แหลมมลายูได้
การที่อังกฤษไม่ได้ยึดย่างกุ้งนั้นทำให้พม่าสามารถคุมเส้นทางการค้าระหว่างพม่าตอนบนกับพม่าตอนล่างได้โดยผ่านแม่น้ำอิระวดี ทำให้พ่อค้าชาวอังกฤษเสียผลประโยชน์ ปี พ.ศ.๒๓๙๕ อังกฤษจึงเข้ายึดครองดินแดนทางสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเอาไว้

ในขณะที่อังกฤษครอบครองพม่าตอนล่าง เป็นสมัยที่ระบบการขนส่งได้พัฒนาขึ้นมาก ความต้องการวัตถุดิบเพิ่มเป็นเงาตามตัว อังกฤษได้เพิ่มพื้นที่เพาะปลุกในพม่า และส่งออกข้าวออกนอกประเทศมากที่สุดในโลก

เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๔๒๘ เกิดกรณีพิพาทระหว่างบริษัทเบอร์มา เทรดดิ้ง (Burmah Trading Company) ซึ่งเป็นบริษัทของอังกฤษกับทางราชสำนักพม่าโดยทางบริษัทได้อนุญาตให้ตัดไม้สักในเขตตอนเหนือของพม่า เจ้าหน้าที่ป่าไม้ของพม่าตั้งข้อหาบริษัทว่า ไม่ได้จัดส่งไม้ตามจำนวนที่แท้จริง ศาลพม่าได้ตัดสินให้ต้องจายเงินชดเชยแก่บริษัท แต่รัฐบาลอินเดียภายใต้การปกครองของอังกฤษเข้าขัดขวางและหน่วงเหนี่ยวเวลาให้พิจรณาคดีใหม่ จนอังกฤษส่งเรือรบมาจากมัณฑเลย์ และเนรเทศพระเจ้าธิบอว์ออกไปจากอินเดียเป็นการรวมพม่าตนเหนือและพม่าตอนใต้ให้รวมอยู่ในอาณาจักรวรรดิอินเดียของอังกฤษ ในวันที่ 1
เมื่อพม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ จึงเกิดกระบวนการชาตินิยมเพื่อเรียกร้องเอกราชในปี พ.ศ.๒๔๔๙ เกิดยุวพุทธสมาคม (Young Men’s Buddhist Association หรือ YMBA) เป็นกลุ่มหนุ่มสาวพม่าที่เริ่มศึกษาแบบตะวันตก ดำเนินกิจกรรมทางด้านศาสนาและวัฒนธรรม สมาคมประสบความสำเร็จในการประท้วงต่อต้านชาวต่างชาติที่สวมรองเท้าเข้าวัดเพราะถือว่าเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาและชาวพม่า ขณะที่ชาวพม่านั้นไม่สวมรองเท้าตั้งแต่เข้าวัดเลยทีเดียว จนในที่สุดชาวต่างชาติได้ยอมทำตามข้อเรียกร้องนั้น
ระหว่างที่พม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษได้มีชาวพม่ารวมกันเรียกร้องให้แยกพม่าออกจากอินเดียเพื่อขึ้นตรงกับอังกฤษแต่ บามอว์(Ba Maw) และคณะ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในสภานิติบัญญัติต่อต้ายการแยกพม่าจากอินเดีย จนในที่สุดอังกฤษได้ออกกฎหมายชื่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการปกครองพม่า ( The Government of Burma Act )เพื่อจัดการปกครองให้ขึ้นอยู่กับอำนาจข้าหลวงของหลวงอังกฤษโดยตรง ตามกฎหมายนี้ยังแบ่งให้มีอาณาเขตปกครองชนกลุ่มน้อยเช่น กะเหรี่ยง ไทยใหญ่คะฉิ่น และฉิ่น ทำให้เกิดปัญหาชนกลุ่มน้อยเมื่อพม่าได้รับเอกราชในภายหลัง
เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๙ มีการเลือกตั้งทั่วไป บามอว์ ได้ขึ้นเป็น นายกรัฐมนตรีของพม่า ในระยะนี้ได้มีพวกปัญญาชนที่เพิ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่ม เรียกต้นเองว่าพรรคทะขิ่น (Thakin Party) นำโดยอูอองซาน อูนุ และอูซูหม่อง หรือ นายพลเนวิน

ครั้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ เกิดขึ้น ผู้นำทะขิ่นเห็นว่าการร่วมมือกับญี่ปุ่นอาจส่งผลดีต่อการเรียกร้องเอกราช จึงลอบติดต่อและไปฝึกทหารกับญี่ปุ่น วันที่ ๑สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ ญี่ปุ่นบุกเข้ายึดพม่าได้สำเร็จ บุคคลในพรรคทะขิ่นได้รับตำแหน่งเป็นรัฐบาลในพม่า ญี่ปุ่นให้เอกราช แต่มีเงื่อนไขว่า ญี่ปุ่นยังคุมอำนาจอยู่และมีแนวโน้มว่าจะไม่ให้อิสรภาพทั้งหมด จึงเปลี่ยนเป็นสนับสนุนอังกฤษและพันธมิตรลับๆจนสามารถขับไล่ญี่ปุ่นออกจากพม่าได้สำเร็จ
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ อังกฤษกลับมาปกครองพม่าอีกครั้งโดยไม่ยอมให้เอกราช กลุ่มผู้นำพม่าจึงจัดตั้งหน่วยอาสาสมัครประชาชนขึ้นตามหมู่บ้าน มีการนัดหยุดงาน เดินขบวนเรียกร้องเอกราช ทำให้อังกฤษต้องหาทางประนีประนอมกับกลุ่มต่อต้านอังกฤษ ยินยอมให้มีการเลือกตั้ง กลุ่มผู้นำพม่าได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นเสียงข้างมากในการบริหารประเทศโดยการเรียกร้องให้อังกฤษมอบเอกราช ขณะนั้นรัฐบาลพรรคแรงงานของอังกฤษได้รับการเลือกตั้งเข้ามา มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องนโยบายเรื่องอาณานิคม นายกรัฐมนตรีแอตลีของอีงกฤษจึงได้นับดารเจรจากับอูอองซาน หัวหน้าคณะผู้แทนพม่า หัวหน้าคนะผู้แทนของพม่าที่กรุงลอนดอน ผลการเจรจาคืออังกฤษยินยอมมอบเอกราชให้แกพม่าโดยตกลงให้มีรัฐบาลชั่วคราวดำเนินการ
ภายหลังการเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎรให้ลงมติให้ปกครองพม่าแบบสหพันธรัฐ เรียก ว่าสหภาพพม่า ( The Union of Burma) นายพลอองซานดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญ แต่ในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้มีคนร้ายบุกกราดยิงคณะกรรมกรก่อรางรัฐธรรมมนูญเป็นผลให้นายพลอองซานและคณะอีก ๕ คนถึงแก่กรรม อูนุ ซึ่งขณะนั้นทำหน้าที่ประธานสภาจึงเข้ารับตำแห่น่งเป็นนายกรัฐมนตรีและประกาศเอกราชในวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๓๗๑ วันนี้จึงถือเป็นวันชาติของพม่า
พม่าปกครองโดยรัฐบาลทหารมานาน เกิดกระแสการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย จนนำไปสู่การเลือกตั้ง นางออง ซาน ซู จี ชนะการเลือกตั้งแต่ถูกฝ่ายกองทัพซึ่งเป็นกลุ่มอำนาจเดิมปราบปรามอย่างรุนแรงเมื่อปลาย พ.ศ.๒๕๓๑ และได้จับกุมตัวนาง ออง ซาน ซู จี และสมาชิกพรรค National League for Democracy (NLD) นานาชาติร่วมคว่ำบาตรจากการจับกุมตัวนางออง ซาน ซู จี ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและยังคงเป็นปัญหาระหว่างประเทศเรื่อยมา

วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๖ พลเอกขิ่น ยุ้น ยานกรัฐมนตรีคนใหม่ของพม่าได้ประกาศแนวทางดำเนินงานไปสู่กระบวนการปรองดองแห่งชาติ และประชาธิปไตย (Roadmap) ในพม่าเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมืองภายในประเทศและแรงกดดันจากประชาคมระหว่างประเทศ แต่ความพยายามนี้ยังไม่คืบหน้าเท่าใดนัก
เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๗ รัฐบาลทหารพม่า ปลดพลเอกขิ่น ยุ้น กะทันหัน โดยมีข่าวว่าทุจริตโกงกิน แต่ภายหลังสถานีวิทยุและโทรทัศน์ของพม่ประกาศว่าพลเอกขิ่น ยุ้น ออกเนื่องจากปัญหาสุขภาพและแต่งตั้งพลโท โซ วิน ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน

#ธนาคาร และบริษัทใหญ่ในพม่าปิดทำการ

เครดิต :: หนังสือวันชาติอาเซียน
เรียบเรียงโดย :: ma’o